LONG SPEED SHUTTER สวยแปลกและแตกต่าง
ในฐานะคนถ่ายภาพแนวท่องเที่ยว ที่ไม่ได้เป็นนักถ่ายภาพแบบยึดเป็นอาชีพ สถานที่ถ่ายภาพของผมโดยปกติ ก็เป็นสถานที่ท่องเที่ยวมาตรฐานที่ประชนทั่วไปนิยมท่องเที่ยวกัน ไม่ใช่สถานที่พิเศษที่ต้องดั้นด้นไปถ่ายเพื่อหาความแปลกแตกต่างแบบสุดๆ หลีกหนีความซ้ำซากจำเจแบบไปบุกเบิกกันใหม่ เหมือนที่บรรดาเหล่ามืออาชีพจริงๆ เขาทำกัน นานๆ ครั้งจึงจะมีทริปพิเศษสักหน ด้วยความที่มักจะได้ถ่ายภาพสถานที่ที่คนอื่นเขาถ่ายกันแล้วเยอะแยะมากมาย บ่อยครั้งที่ต้องถ่ายภาพสิ่งที่เรียกว่า มุมมหาชน อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพื่อไม่ให้ดูเหมือนๆ กับภาพของคนอื่นๆ อีกมากมายเกินไป หลายๆ ครั้งผมจึงต้องพยายามหาวิธีถ่ายภาพให้สถานที่พื้นๆ เหล่านั้น ดูแตกต่างจากที่เห็นกันจนชินตาอยู่แล้ว และหนึ่งในเทคนิคที่ผมชอบใช้เพื่อให้ภาพดูมีความแตกต่างที่ว่านั้นก็คือ เทคนิค Long Speed Shutter นั่นเองครับ
***เจ้าของบล๊อก คัดลอกมาเพื่อการศึกษาส่วนตัวมิได้มีเจตนาเผยแพร่
ในฐานะคนถ่ายภาพแนวท่องเที่ยว ที่ไม่ได้เป็นนักถ่ายภาพแบบยึดเป็นอาชีพ สถานที่ถ่ายภาพของผมโดยปกติ ก็เป็นสถานที่ท่องเที่ยวมาตรฐานที่ประชนทั่วไปนิยมท่องเที่ยวกัน ไม่ใช่สถานที่พิเศษที่ต้องดั้นด้นไปถ่ายเพื่อหาความแปลกแตกต่างแบบสุดๆ หลีกหนีความซ้ำซากจำเจแบบไปบุกเบิกกันใหม่ เหมือนที่บรรดาเหล่ามืออาชีพจริงๆ เขาทำกัน นานๆ ครั้งจึงจะมีทริปพิเศษสักหน ด้วยความที่มักจะได้ถ่ายภาพสถานที่ที่คนอื่นเขาถ่ายกันแล้วเยอะแยะมากมาย บ่อยครั้งที่ต้องถ่ายภาพสิ่งที่เรียกว่า มุมมหาชน อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพื่อไม่ให้ดูเหมือนๆ กับภาพของคนอื่นๆ อีกมากมายเกินไป หลายๆ ครั้งผมจึงต้องพยายามหาวิธีถ่ายภาพให้สถานที่พื้นๆ เหล่านั้น ดูแตกต่างจากที่เห็นกันจนชินตาอยู่แล้ว และหนึ่งในเทคนิคที่ผมชอบใช้เพื่อให้ภาพดูมีความแตกต่างที่ว่านั้นก็คือ เทคนิค Long Speed Shutter นั่นเองครับ
หนึ่งในรูปแบบภาพที่คุ้นตาที่สุดสำหรับเทคนิค Long Speed Shutter ก็คือภาพน้ำตกในลักษณะนี้
ระบบ AV ISO 100 f/20 ความไวชัตเตอร์ 10 วินาที ฟิลเตอร์ C-PL
จากย่อหน้าแรก ผมสังเกตเสมอว่า ตามสถานที่ท่องเที่ยว ตามมุมมหาชนต่างๆ ไม่ว่าที่ไหน ช่วงกลางวัน หรือช่วงแสงปกติ ไม่ว่าจะเต็มไปด้วยนักท่องเที่ยวจำนวนมหาศาลเพียงใด แต่ช่วงที่แทบจะหาคนไปถ่ายภาพไม่ได้เลย ซึ่งเป็นช่วงที่ดีที่สุดสำหรับภาพถ่ายให้ดูสวยงามซึ่งนักถ่ายภาพมือสมัครเล่นระดับจริงจังขึ้นไปจะรู้ดี ก็คือช่วงเช้ามืดกับช่วงค่ำ ซึ่งเป็นช่วงที่มีแสงน้อย ไม่เป็นที่สนใจของนักท่องเที่ยวที่ต้องการเพียงมาดูสถานที่และถ่ายภาพเป็นที่ระลึก แต่นั่นคือสิ่งที่นักถ่ายภาพจำนวนหนึ่ง (รวมทั้งผม) กำลังรอคอยและพร้อมที่จะเข้ายึดพื้นที่เพื่อถ่ายภาพในแบบที่แตกต่างออกไป และเทคนิคที่มักจะถูกนำมาใช้เสมอในช่วงเวลานี้ก็คือ เทคนิค Long Speed Shutter (บางสำนักเขาก็เรียกว่า Long Exposure)
ระบบ AV ISO 100 f/6.3 ความไวชัตเตอร์ 8 วินาที ภาพนี้ถ่ายโดยคำนึงถึงความสั่นไหวของใบสนที่ถูกลมพัด
และดวงดาวที่จะเกิดเป็นเส้นยาวไม่สวยงามหากว่าถ่ายด้วยความไวชัตเตอร์ยาวนานเกินไป
ภาพที่มีดาวอยู่ด้วยลักษณะนี้ ความไวชัตเตอร์ประมาณ 2-4 วินาทีจะยังมองเห็นดาวเป็นดวงอยู่
แต่ว่าถ้าขยายดูแบบ 100% ก็จะอาจจะเห็นว่ามีการเคลื่อนที่เล็กน้อยไม่ถึงกับชัดกริบในบางฤดูกาล
ระหว่าง 4-8 วินาที จะเห็นดาวขยับเป็นเส้นมากขึ้นแต่ยังพอรับได้
แต่ถ้าเกิน 8 จะดูเป็นเส้นสั้นๆ ไม่สวยงาม ทั้งนี้ แต่ละสถานที่และวันเวลา ก็ควรถ่ายทดสอบดูก่อน
ใช้ถ่ายอะไร
Long Speed Shutter เป็นเทคนิคที่ใช้ถ่ายภาพได้หลากแล้วแล้วแต่จะเอาไปประยุกต์สร้างสรรค์ แต่ที่นิยมใช้กันมากๆ ก็จะเป็นประมาณว่าเมื่อคุณพบสถานที่ วัตถุ หรือสถานการณ์แนวๆ นี้
ในสิ่งที่คุณจะถ่าย มีบางอย่างเคลื่อนไหวอยู่ ส่วนใหญ่จะนิยมให้มีบางอย่างเคลื่อนไหว ในขณะที่บางอย่างหยุดนิ่ง เช่น น้ำไหล คลื่นซัดสาด เมฆเคลื่อนไปบนท้องฟ้า แสงไฟจากยานพาหนะ ฯลฯ ซึ่งส่วนใหญ่จะพบเห็นได้ในลักษณะของความเคลื่อนไหวผสมกับความหยุดนิ่งของสิ่งอื่นๆ ภาพคุ้นตาที่เราเห็นกันบ่อยในเทคนิคนี้ คือภาพน้ำตกที่ถ่ายให้สายน้ำดูนุ่มนวลฟุ้งๆ เหมือนปุยเมฆนั่นแหละครับ
ในสถานการณ์ที่แสงน้อย และไม่สามารถจัดแสง จัดไฟหรือควบคุมแสงได้ตามใจ เช่น ถ่ายภาพอาคารขนาดใหญ่หรือทิวทัศน์ที่กว้างขวาง ก็ต้องอาศัยเทคนิคนี้เข้ามาช่วย
ในการถ่ายภาพแนวสร้างสรรค์อื่นๆ เช่น วาดแสงด้วยไฟฉายหรือแหล่งกำเนิดแสงที่เราต้องการ
ฯลฯ หรือแล้วแต่การประยุกต์ใช้
ถ้าอยากจะลองถ่ายภาพด้วยเทคนิคนี้เป็นครั้งแรกๆ แต่ยังไม่รู้จะเริ่มกับอะไร ก็แนะนำให้เริ่มกับชายทะเลที่ไหนสักแห่ง ถือว่า Basic ที่สุดสำหรับการฝึกฝนเทคนิคนี้ ยิ่งถ้าได้หมู่โขดหินงามๆ มาเป็นฉากหน้า และแสงแรกหรือแสงสุดท้ายของแต่ละวันมาเสริมเป็นฉากหลังด้วยแล้ว ก็ยิ่งมีโอกาสที่คุณจะได้ภาพซึ่งคุณจะต้องทึ่งในฝีมือตัวเองตั้งแต่ครั้งแรกๆ ที่ลองเลยครับ
ทั้งสองภาพนี้ถ่ายห่างกันไม่กี่นาที ภายใต้การตั้งค่าถ่ายภาพเหมือนกันทุกประการ
ระบบ AV ISO 100 f/22 ความไวชัตเตอร์ 8 วินาที
แต่ภาพแรกถ่ายตอนที่ชิงช้ากำลังหยุดนิ่ง ส่วนภาพที่สองถ่ายตอนที่ชิงช้ากำลังหมุน
จะเห็นได้ชัดเจนว่า เทคนิคนี้จะให้ผลแตกต่างจากการถ่ายภาพทั่วไปก็ต่อเมื่อมีสิ่งใดสิ่งหนึ่งในภาพกำลังเคลื่อนไหว
แต่ถ้าไม่มีอะไรเคลื่อนไหว ก็จะดูเหมือนภาพที่ถ่ายปกติทั่วไป
อุปกรณ์
การถ่ายภาพด้วยเทคนิคนี้ ส่วนหนึ่งของการที่ไม่ค่อยมีคนนิยมถ่าย นอกจากส่วนใหญ่จะต้องถ่ายกันในช่วงเวลาที่ที่ดูมืดๆ เปลี่ยวๆ ประเภทคนขวัญอ่อนหรือไปคนเดียวไม่ค่อยกล้าอยู่รอถ่ายแล้ว ก็เห็นจะเป็นเรื่องของอุปกรณ์ ที่จะต้องมีการเตรียมการณ์เป็นพิเศษมากกว่าการถ่ายภาพปกติอยู่เล็กน้อย (แต่ถ้าต้องการผลงานที่มีคุณภาพสูง ก็ต้องเตรียมมากกว่าปกติเยอะเลยล่ะครับ ทั้งจำนวนชิ้นของอุปกรณ์ที่ต้องพกไป และจำนวนทุนที่ต้องลงเพิ่ม) เท่าที่จำเป็น ก็มีดังนี้
ขาตั้งกล้อง อุปกรณ์ชิ้นนี้ ถ้าไม่มีไปด้วย ก็ต้องกลับพร้อมนักที่เที่ยวอื่นๆ นั่นแหละครับ เพราะมันเป็นหัวใจหลักอย่างหนึ่งของการถ่ายภาพ Long Shutter Speed และต้องเป็นขาตั้งกล้องที่แข็งแรง รับน้ำหนักได้มากที่สุดเท่าที่จะจัดหามาได้เลยครับ เพราะการสั่นไหวเพียงนิดเดียวชั่วเสี้ยววินาที อาจจะทำให้ภาพที่คุณรอคอยถ่ายอย่างอดทน กลายเป็นภาพที่ใช้การไม่ได้เพราะขาดความคมชัดทันทีเลือกใช้แบบที่ไม่เกิดสนิม หรือเกิดได้ยากดีที่สุด เพราะถ้าคุณเกิดติดใจการถ่ายภาพแนวนี้ โอกาสที่คุณจะเอาขาตั้งกล้องไปกางในทะเลก็มีอยู่บ่อยครั้ง ขาตั้งกล้องที่เป็นสนิมง่ายจะพังอย่างรวดเร็ว
ฃระบบ AV ISO 100 f/13 ความไวชัตเตอร์ 30 วินาที
สายลั่นชัตเตอร์หรือรีโมทลั่นชัตเตอร์ก็ได้ เลือกใช้ตามถนัด มีข้อดีข้อเสียกันคนละอย่างสองอย่าง โดยทั่วไปถ้าเราตั้งใจจะใช้ Shutter Speed ไม่เกินจากที่มีอยู่แล้วในกล้องของเรา (กล้องส่วนใหญ่จะสามารถเปิดรับแสงได้ถึง 30 วินาที ซึ่งเพียงพอสำหรับการถ่ายภาพทั่วๆ ไป บางรุ่นก็มากกว่านี้) จะใช้รีโมทลั่นชัตเตอร์ก็ได้ เพราะพกพาสะดวกไม่เกะกะ แต่ถ้าต้องการถ่ายภาพพิเศษที่ต้องใช้ชัตเตอร์ B เช่น ถ่ายดาว อะไรอย่างนี้ ก็คงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องใช้สายลั่นชัตเตอร์รุ่นที่สามารถล็อคการเปิดรับแสงไว้ตามที่เราต้องการได้ แต่ถึงจะไม่มีอุปกรณ์ทั้งสองอย่างนั้น หากจะถ่ายภาพด้วยเทคนิคนี้จริงๆ ก็ยังคงทำได้ ด้วยฟังก์ชั่นการหน่วงเวลาสั้นๆ ในกล้อง (ส่วนใหญ่จะหน่วงไว้ 2 วินาทีก่อนชัตเตอร์จะทำงาน) ซึ่งข้อสำคัญคือต้องใช้ร่วมกับระบบล็อกกระจกเสมอจึงจะให้ผลสมบูรณ์ สิ่งที่ห้ามเด็ดขาดสำหรับการถ่ายภาพด้วยเทคนิคนี้ คือการกดชัตเตอร์เองโดยไม่ใช้สายลั่น หรือรีโมท เพราะโอกาสที่กล้องซึ่งเปิดรับแสงค้างไว้นาน จะไม่ได้รับผลจากการสั่นไหวอันเกิดจากแรงกดชัตเตอร์ของเรานั้น แทบเป็นไปไม่ได้เลยครับ ถ้าถ่ายเล่นเพลินๆ อาจจะพอรับได้ แต่ถ้าเป็นงานระดับมืออาชีพ หรืองานสำคัญๆ แล้วอย่าเสี่ยงเด็ดขาดครับ ไม่คุ้มเลย
ระบบ AV ISO 100 f/16 ความไวชัตเตอร์ 25 วินาที
ฟิลเตอร์ ND ถ้าเน้นการถ่ายภาพธรรมชาติประเภททะเล หรือแสงยามเช้ายามเย็น ฟิลเตอร์ ND หรือฟิลเตอร์ลดแสงก็เป็นอุปกรณ์ที่ควรมีไว้อย่างยิ่งซึ่งมีสองแบบ คือแบบครึ่งซีก กับแบบเต็มแผ่นหรือแบบวงกลม การถ่ายภาพด้วยเทคนิคนี้ส่วนใหญ่แล้ว ND แบบเต็มแผ่นหรือวงกลมจะใช้ประโยชน์ได้ตรงประเด็นมากกว่า เนื่องจากวัตถุประสงค์ที่จะใช้ คือการลดแสงลงให้มากเพื่อที่จะได้ใช้ความไวชัตเตอร์ให้ต่ำลงกว่าปกติ จริงๆ แล้วจะไม่ใช้ก็ได้ แต่ถ้ามีใช้ ก็จะเพิ่มระยะเวลาและจำนวน Shot ของการถ่ายให้มากขึ้น เนื่องจากแสงในช่วงทไวไลท์นั้นจะเปลี่ยนแปลงเร็วมาก ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเราจะถ่ายภาพน้ำทะเลพร้อมแสงช่วงพระอาทิตย์ตกด้วยเวลา 20 - 30 วินาทีเพื่อให้พื้นน้ำมีความฟุ้งกระจายนุ่มนวล มีเวลาเพียงไม่กี่นาทีเท่านั้นที่ถ่ายได้โดยใช้ความไวชัตเตอร์ต่ำๆ ขนาดนี้เนื่องจากถ้าแสงมากไป แม้จะใช้ ISO 100 แล้ว และรูรับแสงที่แคบที่สุดเท่าที่เลนส์เรามี (ซึ่งแน่นอนว่า รูรับแสงแคบสุดของเลนส์แทบจะทุกตัว ก็ให้คุณภาพโดยรวมของภาพแย่ที่สุดเช่นกัน ควรหลีกเลี่ยงที่จะไม่ใช้รูรับแรงแคบสุดเท่าที่เลนส์ของคุณมี ยกเว้นจำเป็นจริงๆ) ก็ยังไม่สามารถถ่ายได้เพราะแสงมีมากเกินไป ต้องรอให้แสงน้อยๆ ซึ่งข้อเสียก็คือ พอแสงน้อยขนาดที่ถ่ายได้ ใครเคยถ่ายภาพตอนเย็นคงจะทราบดีว่า อีกไม่กี่นาทีหลังจากนั้นก็จะมืดสนิทอย่างรวดเร็ว ทีนี้เราถ่ายกันที่ความไวชัตเตอร์ 20 -30 วินาที เมื่อรวมกับเวลาที่ใช้จัดองค์ประกอบ เปลี่ยนมุมถ่ายภาพ เท่ากับว่า เรามีเวลาถ่ายภาพเพียงไม่กี่ครั้งเท่านั้นก็ถ่ายไม่ได้แล้วเพราะแสงหมด
ระบบ M ISO 100 f/10 ความไวชัตเตอร์ 30 วินาที
แต่ถ้ามีฟิลเตอร์ลดแสงก็จะเป็นอีกเรื่องหนึ่ง อย่างผมจะมี ND วงกลมแบบลดแสง 6 สต็อป ติดไปด้วยเสมอ แสงที่ลดไปถึง 6 สต็อป ทำให้สามารถเริ่มถ่ายภาพด้วยความไวชัตเตอร์ระดับ 30 วินาทีได้ตั้งแต่แสงยังสว่างมากได้อย่างสบาย ยิ่งถ้ามีฟิลเตอร์ C-PL ติดไปด้วยก็ยิ่งสบายใหญ่ เพราะถ้าจำเป็นก็เอามาใช้ซ้อนกัน แสงจะลดลงไปอีกประมาณ 2 สต็อป รวมเป็นประมาณ 8 สต็อป เพิ่มเวลาและโอกาสในการได้ภาพดีๆ อีกไม่น้อย สิ่งที่ควรระวังก็คือ เวลาใช้ฟิลเตอร์ซ้อนกัน โดยเฉพาะกับเลนส์มุมกว้างมากๆ ก็จะติดขอบมืดเข้ามาสี่มุมอย่างชัดเจน ต้องแก้ไขภายหลังให้ดีๆ สำหรับผมเอง ถ้าติดขอบมืดมามากๆ ไม่อยากเสียเวลาแก้ไข ก็ใช้วิธีถ่ายมาหลวมๆ แล้ว Crop เอาส่วนมืดตรงขอบออกไปอีกอย่างหนึ่งคือความคมชัดอาจจะลดลงไปพอสมควร เนื่องจากมีชิ้นแก้วเพิ่มเข้ามาหน้าเลนส์หลายชิ้นมากขึ้น ควรใช้เฉพาะเท่าที่จำเป็นเท่านั้น
ระบบ AV ISO 100 f/20 ความไวชัตเตอร์ 15 วินาที
ฟิลเตอร์ประเภทที่เกี่ยวกับการลดแสง ไม่ว่าจะเป็น C-PL หรือ ND ควรเลือกใช้แต่ของเกรดปานกลางขึ้นไปจนถึงสูงเท่านั้น ทั้งสองชนิดนี้ ผมเคยซื้อของราคาประหยัดมาใช้ ปรากฏว่าต้องเสียเงินฟรีครับ เพราะภาพที่ได้มันจะได้สีสัน ความคมชัด ความเปรียบต่าง ที่ต่ำกว่ามาตรฐานมากชนิดไม่ต้องสายตาเทพที่ไหนก็ดูออกทันที ยิ่งจะเอาไปใช้งานจริงจัง เช่น ส่งภาพขายออนไลน์ ยิ่งใช้ไม่ได้เข้าไปใหญ่
ถ้าใช้ฟิลเตอร์ ND ที่ลดแสงหลายๆ สต็อป อย่าลืมโฟกัสภาพเสียให้เรียบร้อยก่อน แล้วก็ปิดระบบออโต้โฟกัสเอาไว้ จากนั้นค่อยสวม ND เข้าไป ถ้าสวมก่อนโฟกัสจะเสียเวลามากกว่าจะโฟกัสได้ เพราะช่องมองภาพจะมืดมาก
แบตเตอรี สำคัญมากครับ เพราะเราจะต้องเปิดรับแสงยาวนานหลายวินาทีติดต่อกัน จะเปลืองแบตเตอรีเป็นพิเศษ ส่วนใหญ่ปัญหาจะเกิดกับการถ่ายภาพแนวท่องเที่ยวในช่วงเย็น เพราะว่าตลอดวันก็ถ่ายภาพที่โน่นที่นี่มาเรื่อย บางทีแบตเตอรีเหลือครึ่งเดียว พอเอาไปถ่ายภาพแบบเปิดรับแสงนานๆ ไม่กี่ภาพก็หมดอย่างรวดเร็ว นักถ่ายภาพที่พกแบตเตอรีก้อนเดียวเที่ยวทั้งวัน พลาดโอกาสดีๆ มานักต่อนักแล้ว
ระบบถ่ายภาพ
เทคนิคของแต่ละคนไม่เหมือนกัน สำหรับผมเอง ภาพส่วนใหญ่ที่ถ่ายด้วยเทคนิคนี้ จะใช้วิธีผสมกันระหว่าง AV กับ Manual คือถ้าถ่ายแบบปกติไม่ใช้ฟิลเตอร์ ND ในการลดแสง ก็จะใช้ AV เป็นหลัก วัดแสงแบบ Matrix ธรรมดา (ระบบวัดแสง ก็แล้วแต่ถนัดนะครับ ไม่จำเป็นต้องเป็นระบบนี้แต่อย่างใด) แล้วถ่ายตามปกติ แต่ถ้าจำเป็นต้องสวม ND เข้าไป ก็จะใช้วิธีวัดแสงก่อนใส่ฟิลเตอร์ด้วยระบบ AV แล้วก็จำค่าไว้ จากนั้นก็จะสวม ND แล้วก็เปลี่ยนไปเป็นระบบแมนนวล จากนั้นปรับชดเชยแสงไปตามแสงที่เสียไปจากการใส่ฟิลเตอร์ เช่น จะถ่ายภาพทะเลให้น้ำดูนุ่มนวลคล้ายๆ หมอก เราก็จะกำหนดไว้ในใจว่า ควรจะใช้ความไวชัตเตอร์ที่ 30 วินาที อันนี้ขึ้นอยู่กับประสบการณ์และความชอบส่วนตัวของเรานะครับ (บางครั้งก็ขึ้นอยู่กับสิ่งที่ประกอบอยู่ในภาพด้วย เช่น ถ่ายดาวร่วมกับคลื่นทะเล ถ้าเปิดชัตเตอร์นานเกินไป น้ำทะเลดูสวย แต่ดาวไม่สวย เป็นต้น) เริ่มด้วยการจัดองค์ประกอบให้เสร็จและวัดแสงดูว่ากล้องคำนวณให้เท่าไหร่ เช่นที่ ISO 100 วัดด้วยระบบ AV ได้ความไวชัตเตอร์ 1/15 วินาทีที่รูรับแสง f/8 จากนั้นก็สวม ND แบบลดแสง 6 สต็อปแล้วเปลี่ยนระบบถ่ายภาพเป็นแมนนวล เลือกความไวชัตเตอร์ที่ 30 วินาทีตามที่ต้องการ เท่ากับชดเชยบวกไป 9 สต็อป ซึ่งเกินความต้องการไป 3 สต็อป ก็ไปปรับค่ารูรับแสงให้แคบลงอีก 3 สต็อกเพื่อให้พอดี ก็ปรับไปที่ f/22 วิธีนี้จะง่ายที่สุดสำหรับผมนะครับ เพราะว่าแค่จำวิธีคำนวณค่าที่ห่างกัน 1 สต็อปของรูรับแสงและความไวชัตเตอร์ให้ได้ก็พอ ทีนี้จะใส่ฟิลเตอร์ลดแสงกี่สต็อป ช่องมองภาพมันจะมืดอย่างไรก็ไม่ต้องไปสนใจ เราก็ปรับเป็นแมนนวลแล้วนับชดเชยให้ได้จำนวนสต็อปตามที่มันเสียไปกับฟิลเตอร์ก็พอ (อย่าลืมโฟกัสภาพแล้วปิดระบบออโตโฟกัสก่อนทุกครั้งนะครับ ไม่อย่างนั้นอาจจะจะเสียเวลาในการถอดฟิลเตอร์ออกมาโฟกัสใหม่ เพราะกล้องไม่สามารถโฟกัสเองได้)
ระบบ AV ISO 100 f/11 ความไวชัตเตอร์ 30 วินาที
ในทางปฏิบัติจริง ผมสังเกตว่า ค่าที่ใช้ถ่ายได้ตรงจริงๆ นั้นมักจะแตกต่างจากค่าการนับ 1 สต็อปตรงๆ แบบเดิมๆ อยู่บ้างเล็กน้อย ซึ่งไม่มีปัญหา เพราะว่ากล้องดิจิตอลสมัยใหม่สามารถปรับชดเชยทั้งรูรับแสงและความไวชัตเตอร์ได้ละเอียดมากขึ้นกว่ากล้องรุ่นเก่าๆ และกล้องฟิล์มมาก ดังนั้นไม่ต้องกังวลครับ ถ้าไม่แม่น นับผิดพลาดไปนิดหน่อย ก็ลองถ่ายดูก่อนได้ 1-2 ภาพว่าพอดีหรือไม่ แล้วปรับละเอียดอีกเล็กน้อย ซึ่งก็จะเสียเวลาไปประมาณ 1-2 นาทีในการถ่ายทดสอบครับ ซึ่งอย่างที่ว่าล่ะครับ สภาพแสงมันเปลี่ยนเร็วมากในช่วงเวลานี้ เวลาแค่นาทีเดียวก็มีค่า ดังนั้น ก็ต้องใช้วิธีจำสูตรหรือเทคนิคต่างๆ ให้ขึ้นใจ จะช่วยประหยัดเวลา และลดโอกาสในการพลาดช็อตเด็ดๆ ได้มากเลยครับ
จริงๆ แล้วระบบถ่ายภาพ ไม่จำเป็นต้องยึดตามนี้ สามารถใช้ระบบที่เราถนัดหรือใช้อยู่เป็นประจำได้เลย เพียงแต่ต้องเป็นระบบในกลุ่ม Advanced คือ AV TV หรือ M เท่านั้นนะครับ ส่วนระบบอื่นๆ ไม่สะดวกในการใช้งานเลย ส่วนระบบวัดแสงก็เช่นกัน ใครถนัดอะไรก็ใช้อย่างนั้นได้ไม่มีปัญหา แค่ชดเชยจำนวนสต็อปให้ตรงกับที่สูญเสียแสงไปจากฟิลเตอร์ที่เราสวมเข้าไปก็พอแล้ว
ภาพหินและน้ำ ถ่ายด้วยระบบ AV ISO 100 f/16 ความไวชัตเตอร์ 30 วินาที
และนำภาพท้องฟ้าที่ถ่ายด้วยความไวชัตเตอร์ปกติมาซ้อนเข้าด้วยกันด้วยโปรแกรม Photoshop
การปรับแต่ง
การถ่ายภาพด้วยเทคนิค Long Speed Shutter นอกจากจะสนุกตรงที่ได้ทำอะไรวุ่นวายมากมายกว่าปกติจึงจะได้ภาพมาแล้ว ในขั้นตอนการปรับแต่งภาพด้วยคอมพิวเตอร์ ก็ยังสนุกตรงที่ภาพประเภทนี้ มีความยืดหยุ่นในการปรับแต่งหลายๆ อย่างมากกว่าภาพที่ถ่ายในสภาพแสงหรือเวลาที่ปกติ อย่างเช่นเรื่อง White Balance ปกติเราถ่ายภาพทิวทัศน์ในช่วงกลางวันธรรมดา ส่วนใหญ่ก็นิยมปรับค่านี้ให้ตรงตามความเป็นจริง ถ้าปรับผิดเพียงเล็กน้อยก็จะทำให้ภาพดูผิดเพี้ยนไปไม่ตรงกับความเป็นจริงได้ง่ายมาก แต่ Long Speed Shutter ส่วนหนึ่ง มักจะถ่ายกันในสภาพแสงที่ซับซ้อนและไม่มีใครสามารถรู้ได้ว่าสภาพแสงสีจริงควรจะเป็นอย่างไรกันแน่ การปรับแต่งสามารถเล่นกับ White Balance ได้เต็มที่ ไม่ว่าจะตรงหรือไม่ตรง แต่ถ้าให้ภาพที่ดูแล้วสวยงามลงตัว ก็จะไม่ทำให้ผู้ดูภาพรู้สึกว่ามันมีอะไรผิดเพี้ยน ภาพที่ถ่าย ณ จุดเดียวกัน สามารถให้ภาพที่มีความแตกต่างไปอย่างหลากหลายแต่ถ้าเป็นภาพแสงพื้นๆ อย่างพวกน้ำตกนั้นไม่ควรจะไปเล่นอะไรกับ White Balance มากนัก เพราะมันจะดูเพี้ยนได้ง่าย ต้องใช้วิจารณญาณในการปรับแต่งด้วยครับ
เพื่อให้การปรับแต่งสามารถทำได้เต็มที่โดยไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับคุณภาพที่จะสูญเสียไป แนะนำเป็นอย่างยิ่งให้ถ่ายภาพด้วยเทคนิคนี้โดยใช้ไฟล์ชนิด RAW ซึ่งจะมีความทนทานต่อการปรับแต่งภายหลังได้ดี สูญเสียคุณภาพน้อยกว่าไฟล์ภาพประเภท JPG
ภาพชุดประภาคาร ทั้งหมดถ่ายในระยะเวลาที่ใกล้เคียงกัน แต่ใช้การปรับ White Balance และการปรับสีเข้ามาช่วย ทำให้ภาพมีความหลากหลายมากขึ้น
ท่องเที่ยวครั้งต่อไป แทนการเก็บกล้องกลับที่พักพร้อมกับนักท่องเที่ยวทั่วไปเมื่อแสงเหลือน้อย ลองถ่ายภาพด้วยเทคนิค Long Speed Shutter ดูบ้างนะครับ คุณอาจจะหลงเสน่ห์ของมันเข้าอย่างจังก็เป็นได้ครับ
บทความโดย สุระ นวลประดิษฐ์ www.stockphotothailand.comภาพด้วยเทคนิค Long Speed Shutter ดูบ้างนะ
ขอบคุณบทความ คุณสุระ นวลประดิษฐ์ด้วยครับ